Guatemala-Honduras-Nicaragua-Costa Rica ตอนที่ 3 ตอนจบ
Posted on July 13, 2014 10:54


ตอนนี้เป็นตอนจบ บันทึกประสบการณ์จาก Monteverde-La Fortuna/Arenal Volcano N.P.-tortuguero national park-San Jose
   

4 ตุลาคม 55 
เช้าวันนี้เดินทางออกจาก Ometepe โดยเรือเฟอร์รี่แล้วไปต่อรถไปที่ Monteverde ประเทศ Costa Rica ที่นี่ต้องข้ามชายแดนประเทศ ก็จะใช้เวลา 7-9 ชม. ขึ้นอยู่กับว่าขั้นตอนตอนข้ามแดนช้าเร็วขนาดไหน สำหรับกลุ่มเราใช้เวลาค่อนข้างเร็ว 
align=

เฟอร์รี่ลำนี้มีรถบรรทุกกล้วย plantain แบบเต็มคันไปด้วย
align=

ทางขึ้นเขารถแทบจะสวนกันไม่ได้ มีลุ้นตลอด
align=

ระหว่างทางขึ้นเขา วิวสวยมาก
align=

align=

แต่ยังไงก็ถือว่าเย็นย่ำแล้ว มาถึงที่พัก ก็เพียงแค่เดินสำรวจเมืองพร้อมๆ กับการเดินหาร้านอาหาร 
align=

5 ตุลาคม 55
วันนี้เรามีเวลาอยู่ที่ Monteverde กิจกรรมเลือกทำก็ต้องไปเดินป่า เพราะที่ Monteverde ถือว่ามีป่าที่อุดมสมบูรณ์ (ไม่มากเท่าเมื่อก่อน แต่ก็คงเป็นอย่างนี้ทุกที่ในโลก ที่ป่าจะถูกทำลายมากขึ้นเรื่อยๆ)​ ที่นี่ถ้าโชคดีจะเจอนก quetzal นั่นแปลว่าโชคดีมากๆ เสียดายที่เราไม่เจอ การเดินป่าครั้งนี้ทำให้รู้ว่าป่าดิบชื้นที่นี่ยังถือว่าสมบูรณ์มาก มีต้นไม้ใหญ่ พันธ์ไม้ และสัตว์ป่ามากพอสมควร ก็แน่นอน เราก็ไม่ได้เจอสัตว์ใหญ่อะไร แต่สภาพป่าสมบูรณ์มาก

เดินป่าที่ ที่ Curi-Cancha Wildlife Refuge ต้นไม้ใหญ่มั่กมั่ก
align=

align=

รังมด army ants มดชนิดนี้ทำมาหากินกันเป็นหมู่คณะ เค้าจะเข้าไปหาเหยื่อพร้อมๆกัน กัดกินจนเหยื่อตาย ถ้าเราเผอิญไปเหยียบรังเค้าแล้วล่ะก็ไม่ต้องพูดถึงว่าจะกัดเราได้เจ็บปวดขนาดไหน เจอแล้วก็อย่าได้เข้าใกล้ทีเดียว ยิ่งถ้าแพ้ด้วย หามไปโรงพยาบาลกันไม่ทันเลย 
align=

รังนกแบบนี้มีเยอะมากตลอดทาง ข้างในยังมีทั้งไข่ที่ยังไม่ฟักเป็นตัวและลูกอ่อนรอแม่กลับมาป้อนอาหารอยู่เลย 
align=

align=

Howler Monkey 
align=

ปลื้มกับผลงานการถ่ายรูปของตัวเองมากวันนี้กับผลงานการถ่ายนก hummingbird ที่อยู่ตามธรรมชาติได้แบบ focus ที่ตัวนกแบบนี้ (ที่ให้น้ำ ที่เจ้าหน้าที่อุทยานมาผูกไว้กับต้นไม้)​ ด้วยขนาดนกที่เล็กมาก เล็งเอาตาแทบเข 555
align=

align=

ไม่รู้คนอื่นคิดยังไงกับการเดินป่า แต่เรา background ป่าไม้ เมื่อได้มีโอกาสไปเดินป่าที่ยังคงความสมบูรณ์แบบนี้ ก็ย่อมประทับใจแน่นอน 

ตกกลางคืน มีเดินป่ากลางตืนด้วย เพื่อดูสัตว์ที่เค้าออกหากินกลางคืน บางคนเจอตัว sloth ตัวที่เคลื่อนไหวช้ามากกกกกกกก จากบนต้นไม้ลงมาใต้ต้นใช้เวลาทั้งวัน เพราะเป็นสัตว์ที่มี metabolism ต่ำสุดๆ (ตัวนี้เป็นตัวละครเอกอีกตัวในการ์ตูนแอนิเมชั่นเรื่อง Ice Age เป็นตัว Sid - ชอบมากกกกก) แต่พอดีเราไม่ได้รับอนุญาตให้ถ่ายภาพตอนกลางคืนเพราะเป็นการรบกวนสัตว์ป่า เลยไม่มีภาพ 

6 ตุลาคม 55 
เดินทางไกลอีก จาก Monteverde ไป La Fortuna เดินทางใช้เวลา 7 ชม.

La Fortuna เมืองชนบทอีกเมืองใน Costa Rica ห่างจากเมืองนี้ไป 6-7 กม.​ ก็จะเป็น Arenal Volcano National Park

align=

align=

align=

Arenal Volcano
align=

มาถึงก็บ่ายเย็น พวกเราเดินชมเมืองด้วยกัน ไปดื่มที่ผับท้องถิ่นที่คนท้องถิ่นพาไป ก็ได้เห็นบรรยากาศผับที่นี่ นึกถึงผับที่บ้านเรามีซัก 20 ปีถอยหลังไป ก็ถือเป็นประสบการณ์ที่ดีอีกวัน 

7 ตุลาคม 55 
วันนี้ยังอยู่ที่ La Fortuna ที่นี่มีกิจกรรมให้ทำมากมายเช่น Ziplining ล่องแก่ง เดินป่าชมน้ำตก แช่น้ำพุร้อน วันนี้เป็นวันที่ไม่อยากทำอะไรเลย ปวดท้อง เลยต้องนอน เอาแรง 

8 ตุลาคม 55 

เดิมวันนี้ต้องเดินทางไป San Jose และใช้เวลาหนึ่งคืนที่ San Jose ก่อนแยกย้ายกันไป แต่เนื่องจากรู้ว่าในตัวเมืองไม่ได้มีอะไรน่าสนใจมากนัก และที่ Costa Rica ที่ที่ควรจะไปคือ Tortuguero national park ซึ่งเป็นช่วงปลายฤดูของเต่าวางไข่ (ช่วงวางไข่คือ ก.ค.-ต.ค. ที่เป็นช่วงที่เต่าตนุ หรือ green turtle จะวางไข่ที่หาดอุทยานนี้มากที่สุด)​ ซึ่งจะไม่เจอเต่าเป็นพันเป็นหมื่นตัวขึ้นลงหาดเพื่อมาวางไข่ แต่จะยังเห็นเต่าขึ้นมาวางไข่ และลูกเต่าฟักออกจากไข่เดินลงทะเลให้เห็น ถ้าโชคดี (จริงๆถ้าเจอคือโชคร้าย คงไม่มีใครวิ่งทัน)​ อาจจะเจอเสือ jaguar ที่เป็นศัตรูตัวสำคัญของเต่าที่นี่ ตื่นเต้นมาก บอกตรงๆ ไม่เคยเห็นเต่าธรรมชาติขนาดเมตรกว่าๆ วางไข่ให้เห็นกับตา อยากดูมากๆ ตัดสินใจเดินทางไป Tortuguero กับเพื่อนเดินทางอีกสามคน ที่เหลือก็ตรงเข้าไป San Jose กัน

การเดินทางจาก La Fortuna ไป Tortuguero National Park ใช้เวลาเกือบทั้งวันกว่าจะไปถึงที่อุทยาน ระหว่างทางก็เห็นว่าป่าที่นี่อุดมสมบูรณ์มากอีกแล้ว ฝนปรอยไปตลอดทาง ชื้นดีจริงๆ นกเยอะ สัตว์เลื้อยคลานมีให้เห็นไปตลอดทาง แต่ถ่ายรูปไม่ทัน หรือทันก็ไม่ค่อยชัด เพราะไม่มี zoom lens ไปด้วย เสียดายจริงๆ 

รถต่อเรือ ดูเหมือนจะเป็นการเดินทางจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งของเราเกือบทั้งทริปที่อเมริกากลางจริงๆ 
align=

align=

align=

ปลื้มที่สุดที่ spot นก toucon ได้ด้วย แม้จะไกลไปหน่อย แต่ก็ได้ภาพมา อิอิ
align=

พอไปถึงก็ไม่รีรอ วางกระเป๋าได้ ออกไปขอเดินป่าในแถบเต่าวางไข่ในช่วงยังมีแสงก่อนมืดค่ำ มีเจ้าหน้าที่อุทยานพาเดิน ก็จะช่วยให้ไม่หลง และเข้าใจมากขึ้น แถมระหว่างทางก็เจอสัตว์หลายอย่างด้วย 

Howler Monkey 
align=

align=

ลิง white-faced capuchin ที่เหลือน้อยลงเรื่อยๆ
align=

เจ้าหน้าที่อุทยานก็ให้ความรู้เรื่องชนิดเต่า ช่วงนี้ก็เต่าตนุ อัตราการอยู่รอด น้อยมากจนน่าใจหายเพียง 1% เท่านั้น ผู้ล่าเต่าทั้งบนบก (เสือ jaguar และนกทะเลทั้งหลาย) และในทะเลก็ฉลาม กว่าจะรอดมาเป็นตัวเต็มวัยได้ 
align=

ซากนี้ เกิดจากเสือ jaguar จัดการมาหลายวันแล้ว
align=

align=

รอยเท้าเสือ jaguar ยังใหม่ๆอยู่เรย ถามเจ้าหน้าที่ว่าเสือเคยออกมากวนคนมั๊ย เค้าบอกไม่มี ยกเว้นตอนกลางคืนที่มือสนิทแล้ว 
align=

รอยแม่เต่าขึ้นลงหาด 
align=

ลูกเต่าออกจากไข่และพยายามจะเดินลงทะเล เราก็มองแบบเอาใจช่วยว่าเค้าจะไปถึงน้ำ ก่อนนกเหยี่ยวทั้งหลายจะมาจัดการ
align=

align=

และแล้วพวกเค้าก็ได้มีโอกาสว่ายน้ำทะเล
align=

นกเหล่านี้มีเต็มต้นมะพร้าวต้นปาล์มแถบนี้ทั้งหมด รอกินไข่และลูกเต่าเป็นอาหาร
align=

พอตกกลางคืน เราสามคนก็ออกไปดูเต่าวางไข่ การเดินจะยากมาก เพราะเค้าห้ามใช้ไฟ ใช้ได้แบบจำกัดมากและต้องเป็นแสงสีแดง เพราะที่นี่อนุรักษ์เต่าอย่างจริงจัง ทุกตัวที่ขึ้นมาวางไข่จะมีการติด tag จากเจ้าหน้าที่อุทยาน วัดขนาด เก็บข้อมูล ช่วงที่เค้าวางไข่ หลังจากเค้าวางไข่เสร็จ เค้าก็เดินลงทะเลไป ไม่กลับมาอีก ดังนั้น ไข่ที่วางทั้งหมด จะออกจากไข่เมื่อเค้าถึงเวลา โดยธรรมชาติ เมื่อลูกเต่าออกจากไข่ จะเดินลงทะเลเอง แต่ระยะทางที่ดูเหมือนไม่ได้ไกลจากทะเล แต่มีศัตรูของเค้าคอยจะจัดการเค้าเป็นอาหารอยู่มากมาย ทำให้อัตราการเหลือลงทะเลก็ลดลงอย่างมาก แถมพอไปถึงทะเล ก็มีศัตรูอีกมากมาย กว่าจะโตขึ้นมาเป็นตัวเต็มวัยได้ ดังนั้น อัตราการอยู่รอดของเค้าจึงต่ำ โดยธรรมชาติ ถ้าแม่เต่าเคยมาวางไข่ที่หาดไหน เค้าจะกลับมาวางที่หาดเดิมอีกเมื่อถึงฤดูกาล 

align=

แม่เต่าตัวที่เราเดินไปพบกำลังทำการขุดหลุมเกือบจะพอดีสำหรับที่เค้าจะวางไข่ เรารออยู่กว่าครึ่งชั่วโมง แม่เต่าเริ่มวางไข่ เจ้าหน้าที่บอกว่าแม่เต่าวางไข่ครั้งละ หลายร้อยฟอง ขณะที่กำลังวางไข่ เจ้าหน้าที่ของอุทยานมาตรวจสอบเลขหมาย tag ประจำตัวของเต่า ทำการวัดขนาด เต่าตัวนี้มีความยาวกระดองเกือบหนึ่งเมตร ถ้าจากหัวถึงหาง เมตรกว่าๆ ถือว่าเป็นเต่าตัวใหญ่มากตัวหนึ่ง น้ำหนักน่าจะอยู่ที่ 400 กก. ได้ แม่เต่าจะวางไข่ครั้งละ 100-200 ฟองเลยทีเดียว แต่เมื่อเทียบกับว่าเค้าจะเหลือแค่ 1-2 ตัวเท่านั้นที่จะอยู่รอดไปเป็นตัวเต็มวัยได้ กลายเป็นว่าจำนวนไข่นี้น้อยไปเลย


เดินกลับจากอุทยาน ด้วยความประทับใจสุดๆ 


9 ตุลาคม 55 

เช้าเดินทางออกจาก Tortuguero National Park เพื่อไปยัง San Jose ไม่ได้ใช้เวลาในเมือง แต่อาศัยชมเมืองโดยการเดินทางทางรถ จากอุทยานไปถึง San Jose ก็ต่อไปยังสนามบินเพื่อบินต่อไปยัง Santiago ประเทศชิลีเลยคืนนี้เลย 


ถือว่าเป็นการจบประสบการณ์ที่อเมริกากลางที่น่าประทับใจมาก ยังนึกถึงภาพของเต่าตนุตัวมหึมากำลังเบ่งไข่ออกมาทีละหลายฟองพร้อมๆกันอยู่เลย โลกเรานี่มีสิ่งมหัศจรรย์อีกมากมายที่รอให้เราไปค้นหาและสัมผัส